08 พฤษภาคม 2554

วิธีเลือกกองทุนรวม

นักลงทุนที่ชาญฉลาดเรียนรู้ที่จะบริหารต้นทุน ความเสี่ยง และผลตอบแทนของตนเองในการเลือกซื้อกองทุนรวมในเกิดความสมดุล และถ้าคุณต้องการเรียนรู้และประสบความสำเร็จในการลงทุนในกองทุนรวม บทความนี้จะสามารถช่วยคุณวางแผนในการเลือกซื้อกองทุนรวมได้เป็นอย่างดี

สิ่งแรกที่คุณควรทำคือการวางเป้าหมายทางการเงินของคุณ เพราะเป้าหมายทางการเงินของคุณจะเป็นตัวชี้วัดว่าคุณควรจะเลือกกองทุนประเภทไหนเป็นเครื่องมือในการลงทุน

ถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่มุ่งเน้นที่จะได้รับส่วนต่างของมูลค่า (Capital Gain) คุณควรเลือกลงทุนในกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้น แต่ขอให้คุณจำไว้เสมอว่าตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงซึ่งมันจะส่งผลกระทบกับพอร์ตการลงทุนของคุณอย่างแน่นอน ถ้าคุณต้องการที่จะลดความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุนประเภทนี้ คุณสามารถทำได้ด้วยการศึกษาวิธีการลงทุนที่กองทุนใช้ และประเภทหุ้น ที่กองทุนนั้นๆลงทุน รวมถึงแนวโน้มของตลาดหลักทรัพย์ในภาพรวม จำไว้ว่าความเข้าใจที่สูงจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่สูง

กองทุนรวมที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ภาคเอกชนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการได้รับ รายได้ที่มั่นคงและสม่ำเสมอ ความผันผวนของมูลค่าสำหรับกองทุนประเภทนี้ค่อนข้างน้อย ซึ่งก็ตามมาด้วยผลตอบแทนที่ค่อนข้างต่ำนั่นเอง

สำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงเลย คุณเหมาะที่จะลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นแบบรับประกันเงินต้น กองทุนประเภทนี้ให้ผลตอบแทนที่มั่นคงและแน่นอน เพียงแต่คุณต้องยอมรับผลตอบแทนที่น้อยกว่าทั้งกองทุนรวมหุ้น และกองทุนรวมพันธบัตรและหุ้นกู้เท่านั้นเอง แต่สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเพียงแค่ผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝากแต่ไม่อยากรับความเสี่ยงมากกว่าการฝากเงินในธนาคาร การลงทุนประเภทนี้ถือว่าเป็นทางเลือกเหมาะสมที่สุดเลยทีเดียว

ในปัจจุบันสถาบันการเงินได้นำเสนอกองทุนรูปแบบผสมออกมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค กองทุนประเภทนี้จะแบ่งเงินส่วนหนึ่งเพื่อลงทุนในหุ้นและอีกส่วนหนึ่งเพื่อลงทุนในพันธบัตรและหุ้นกู้ โดยสัดส่วนในการแบ่งพอร์ตการลงทุนนี้ขึ้นอยู่กับกองทุนแต่ละกอง โดยข้อมูลเหล่านี้คุณสามารถสอบถามจากผู้ที่ขายกองทุนให้กับคุณ ข้อดีของกองทุนประเภทนี้คือคุณจะได้รับทั้งส่วน Capital Gain และรายได้ที่มั่นคง โดยในส่วนของผลตอบแทนกองทุนประเภทนี้จะมีผลตอบแทนน้อยกว่ากองทุนที่ลงทุนในหุ้น 100%

ประเด็นที่สองที่คุณควรจะพิจารณาในการตัดสินใจคือตัวบริษัทที่รับบริหารกองทุนแต่ละกอง คุณอาจจะได้เห็นหลายๆกองทุนใช้ผลตอบแทนระดับสูงในอดีตเป็นตัวดึงดูดให้คนมาลงทุน แต่อย่าลืมว่าอดีตไม่ได้เป็นตัวกำหนดอนาคตเสมอไป ที่เป็นเช่นนี้ด้วยเหตุผลง่ายๆ กองทุนที่มีความร้อนแรงมักจะเลือกลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักๆ เช่น ธนาคาร หรือ พลังงาน เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าปีไหนที่หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวมีความเคลื่อนไหวน้อยหรือมีมูลค่าลดลง ผลตอบแทนของกองทุนก็จะลดลงตามไปด้วย

หน้าที่ของคุณคือศึกษาวิธีการลงทุนของกองทุนแต่ละกองทุนที่คุณเลือก ความโปร่งใส่ของกองทุน และแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่กองทุนนั้นๆลงทุนอย่างไรก็ตาม การวิ่งตามกระแสใหม่ๆอาจจะช่วยทำให้คุณได้รับผลตอบแทนสูงในระยะสั้นแต่ไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอให้ระยะยาวได้ ถ้ากองทุนที่คุณสนใจเป็นกองทุนที่ลงทุนเชิงรุกให้คุณตรวจสอบ ประวัติและประสบการณ์ของผู้จัดการกองทุนอย่างละเอียด ไม่เช่นนั้นเงินของคุณอาจจะถูกบริหารโดยผู้จัดการกองทุนแบบ ของปลอมก็เป็นได้

สิ่งสุดท้ายที่คุณต้องให้ความสนใจคือค่าใช้จ่ายต่างๆในการลงทุนเช่น ค่าบริหารกองทุน ค่าธรรมเนียมการซื้อ-ขาย เป็นต้น แน่นอนว่าต้นทุนที่ต่ำลงย่อมหมายถึงผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วยนั่นเอง กองทุนที่ลงทุนเชิงรุกและเก็บค่าบริหารที่สูง ในระยะยาวแล้วอาจจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่ากองทุนดัชนีที่เก็บค่าบริหารต่ำกว่า ก็ได้ ลองสำรวจกองทุนดัชนีที่ท่านสนใจดูแล้วท่านจะพบว่ากองทุนดัชนีโดยปกตินั้นเก็บค่าบริหารและค่าธรรมเนียมต่ำมากเลยทีเดียว

หลังจากคุณได้รายชื่อกองทุนที่คุณสนใจแล้วลองเปรียบเทียบความผันผวนของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือ Net Asset Value (NAV) โดยอาจจะใช้ ดัชนี set50 เป็นตัวเปรียบเทียบก็ได้ รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีของแต่ละกองทุนดูแล้วจึงตัดสินใจลงทุน
อย่าลืมความจริงที่ว่านี่คือเงินของคุณ และอนาคตของคุณ ดังนั้นคุณควรรอบคอบ และพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น